top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

รูปภาพนักเขียนThe Oasis Team

วิธีรับมือกับคนใกล้ชิดที่เป็นโรคซึมเศร้า พูดแบบไหนให้รู้สึกดีขึ้น


โรคซึมเศร้า

วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พูดแบบไหนให้คนใกล้ชิดที่เป็นโรคซึมเศร้ารู้สึกดีขึ้น


ปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างโรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ หรือโรคซึมเศร้าที่หลาย ๆ คนกำลังมองข้าม หรือมองว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจากผลสำรวจเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 (ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต) คนไทยในช่วงอายุ 15 ปี ขึ้นไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน และผู้ป่วยส่วนใหญ่ในวัย 25 ปี มักจะป่วยเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจ ทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงในที่สุด และโรคซึมเศร้าที่หลาย ๆ คนมองข้าม ไม่สนใจ หรือมองว่าเป็นเรื่องเรียกร้องความสนใจ ได้ทำให้จำนวนผู้ป่วยกว่า 70% เสียชีวิตก่อนวัยอันควร


ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เริ่มหันมาสนใจเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่ร่วม และเข้าใจ ช่วยเหลือซัพพอร์ตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าดีขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หากคุณเป็นอีกคนที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือประสบปัญหาคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ควรทำความเข้าใจก่อนว่า โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมากจากอะไร


ทางการแพทย์ระบุข้อมูลถึงสาเหตุหลัก ๆ เบื้องต้นที่ส่งผลให้ป่วยโรคซึมเศร้า คือ


  • ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง

  • กรรมพันธุ์ เช่น มีประวัติญาติพี่น้อง/คนในครอบครัวป่วยโรคซึมเศร้า

  • สภาพแวดล้อมที่มีความกดดัน หรือทำให้เกิดความเครียดสะสม หรือการสูญเสีย

  • ลักษณะนิสัย การมองโลกในแง่ร้าย หรือคิดลบทุกแง่มุม มีโอกาสพัฒนาความคิดไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่าย


ลักษณะอาการที่คุณสามารถสังเกตภาวะซึมเศร้าของคนรอบข้างได้เบื้องต้น


  • มองโลกในแง่ร้าย การนึกคิดถึงอะไรก็ตามมักจะมองไปด้านลบเสมอ ทุกคำพูดที่สื่อออกมาจะเป็นไปในทางด้านลบ จนอาจจะส่งผลไปถึงการกระทำที่เสี่ยงอันตราย หรือการตัดพ้อกับการใช้ชีวิต

  • มีอาการสิ้นหวัง ซึมเศร้า หดหู่ ในบางเรื่อง หรือบางการกระทำคนทั่วไปอาจจะมองข้าม แต่สำหรับผู้ป่วยจะรู้หนักหน่วงในอารมณ์นั้น ๆ จนคิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย หรือทำร้ายตัวเอง ที่บางครั้งเราในฐานะคนใกล้ตัวก็ไม่สามารถคาดเดาความคิดของผู้ป่วยได้

  • รู้สึกไม่ค่อยมีแรง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการสนทนาก็ช้าไปหมด เนื่องจากความรู้สึกที่หดหู่ หรือการแบกรับความรู้สึกแย่ ๆ ไว้ ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่อยากทานอะไร ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ไม่ตื่นตัว จนอาจจะส่งผลกระทบต่อน้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด ไปจนถึงขั้นอดหลับอดนอน

  • ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ด้วยสถานการณ์ที่เขาพบเจออยู่ อาจจะทำให้เขารู้สึกแย่จนไม่สามารถที่จะตัดสินใจอะไรได้ ทำให้บางครั้งตัดสินใจผิดพลาด หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้างทำให้ตัวผู้ป่วยขาดความมั่นใจในการตัดสินใจ จึงแยกตัว ไม่อยากเข้าร่วมสังคม เพราะความกดดันรอบตัวที่พบเจอ


ถ้าหากกล่าวถึงคำพูดที่ใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุด บางคนไม่ทราบถึงความละเอียดอ่อนในประโยคคำพูดคำปลอบใจ ก็มักจะนิยมใช้คำว่า “อย่าคิดมาก” กลับกันในทางผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคำว่า อย่าคิดมาก เปรียบเสมือนคำต้องห้าม ดังนั้นก่อนจะปลอบใจ ควรที่จะเรียนรู้วิธีช่วยเหลือในการบำบัด และรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยคที่จะช่วยให้ฟังแล้วรู้สึกดีขึ้น


กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีจิตใจดีขึ้นได้ คือ

ชวนไปออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้น การออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างให้จิตใจของผู้มีอาการซึมเศร้ามีภูมิคุ้มกันดีขึ้นได้ กิจกรรมการออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน การได้ออกแรงบ้างเล็กน้อย จะยิ่งช่วยให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้านอนหลับ และทานอาหารได้ดีขึ้น และยังทำให้ตัวผู้ป่วยเองนั้นไม่รู้สึกไม่โดดเดี่ยวอีกด้วย หรือการพาออกไปเที่ยวผ่อนคลายนอกสถานที่ ชมวิวทะเล ภูเขา ก็ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจขึ้นได้เช่นกัน


หากคุณอยากปลอบใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ประโยคไหนบ้างที่จะให้ผู้ฟังรู้สึกดีขึ้น?

“ฉันอาจจะไม่เข้าใจเธอ แต่ฉันเป็นห่วง และอยากช่วยเธอนะ”

“เธอไหวไหม เธอเหนื่อยมากไหม”

“ชีวิตเธอสําคัญกับฉันมาก ๆ นะ”

“เธออยากให้เราช่วยอะไรบ้าง บอกได้นะ เราอยากช่วย”

“พวกเราจะไม่ทิ้งเธอนะ เราจะอยู่ข้าง ๆ เธอ”

“เธอไม่ได้เป็นบ้า เธอก็แค่เศร้า”

“มากอดกันไหม”


และหากสนทนากันอยู่ผู้ป่วยเกิดอยากระบายขึ้นมา สิ่งที่ควรทำ และคุณทำได้ดีที่สุดตอนนั้น คือ การฟังด้วยความตั้งใจ และท่าทีที่สบาย ๆ ไม่คะยั้นคะยอให้เล่า และไม่ตัดสินใจแทน เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีความคิดที่คิดว่าตัวเองนั้นเป็นภาระผู้อื่นอยู่แล้ว การจะให้ผู้ป่วยพูดคุยระบายความรู้สึก ต้องให้พวกเขารู้สึกก่อนว่ามีคนอยากรับฟัง และไม่กดดัน หรือตัดสิน เขาถึงจะรู้สึกปลอดภัย และไว้วางใจเรา เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างหนึ่งแล้ว


ทั้งหมดที่กล่าวมาคือสาเหตุ และวิธีรับมือกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า หากสังเกตได้ว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนรอบข้าง แนะนำว่าควรปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด เพื่อรับการบำบัดสภาพร่างกาย และจิตใจอย่างถูกต้อง เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ซึ่งมีอาการที่รุนแรงมาก จนอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียน หรือการทำงานได้


THE OASIS คลินิกจิตเวช ยินดีให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่นี่เรามีนักจิตบำบัด และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า บำบัดด้วยกีฬา ไม่ว่าจะเป็นคลาสโยคะที่ช่วยให้ร่างกายของคุณได้พักผ่อน หรือบำบัดด้วยศิลปะ เพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ การเข้าคลาสศิลปะที่ผ่อนคลาย และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ จิตบำบัดแบบกลุ่ม








ดู 12,921 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires


bottom of page