top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

รูปภาพนักเขียนThe Oasis Team

โรควิตกกังวลในกลุ่มคนวัยทำงาน พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้นโดยจิตแพทย์

อัปเดตเมื่อ 16 ก.ค. 2566

โรควิตกกังวลในกลุ่มคนวัยทำงานที่ไม่ควรมองข้าม พร้อมวิธีการแก้ไขในเบื้องต้น


โรควิตกกังวล หรือ Anxiety Disorder เป็นภาวะที่เกิดจากการรู้สึกกังวล หรือเครียดที่มีความรุนแรงมากกว่าปกติ และมีอาการเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการทำงานของผู้ป่วยได้ โรควิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทำงาน เพราะในวัยทำงานนั้น การมีภาวะวิตกกังวลอาจเกิดขึ้นได้หลายเหตุผล เช่น ความเครียดจากการทำงานที่ต้องตัดสินใจเร็วๆ หรืองานที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ทำงาน เช่น การเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในชีวิต การสูญเสียคนรัก หรือปัญหาภายในครอบครัว เป็นต้น


โรควิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงของวัยทำงานนั้น ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ได้แก่


- Generalized Anxiety Disorder (GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไป จะเป็นภาวะที่มีอาการวิตกกังวลที่มากเกินไปในเรื่องทั่ว ๆ ไป อีกทั้งยังกินระยะเวลาที่ยาวนานมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นความกังวลในเรื่องของการทำงาน การเรียน หรือชีวิตประจำวัน เป็นต้น


- Panic Disorder หรือโรคแพนิก เป็นภาวะของอาการที่เกิดขึ้นมาเป็นพัก ๆ อาจเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีปัจจัยกระตุ้นชัดเจนผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีอากาศมือสั่น ใจสั่น หายใจเร็ว หัวใจเต้นแรง อาจมีอาการเหนื่อยหอบร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บหน้าอก เวียนหัว คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน เป็นต้น โดยผู้ที่มีอาการแพนิกมักมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนก ไม่กล้าออกไปไหนจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน



- Social Anxiety Disorder หรือภาวะวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นที่สนใจของผู้อื่น หรือสถานการณ์ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ต้องออกไปนำเสนอ ช่วงเวลาประชุม หรือช่วงเวลาที่ต้องระดมไอเดีย เป็นต้น ผู้ที่มีภาวะของ Social Anxiety Disorder นั้น มักจะเกิดความรู้สึกกดดัน ประหม่า และอาจพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องเป็นที่จับจ้อง


- Obsessive Compulsive Disorder ซึ่งก็คือโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือที่คุ้นหูกันว่า OCD คือภาวะวิตกกังวลจากความคิดที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา (obsession) รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความคิดซ้ำ ๆ(compulsion) ที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่ามือไม่สะอาดก็จะล้างมือซ้ำไปซ้ำมาอยู่หลายครั้ง การเช็คอีเมล การแจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา เพราะกลัวและกังวลว่าจะพลาดอะไรไป โดยพฤติกรรมดังกล่าวจะต้องทำให้ผู้นั้นเกิดความเดือดร้อนรำคาญและส่งผลต่อการกำเนินชีวิต


โรควิตกกังวล มีอาการอย่างไรที่ต้องสังเกต



ความเครียด หรือความกังวลนั้น โดยทั่วไปสามารถเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือการทำงาน แต่ทั้งนี้อาการที่จะนำไปสู่ภาวะความเสี่ยงของการเกิด โรควิตกกังวลนั้น สามารถสังเกตในเบื้องต้นได้ดังนี้


- เกิดความรู้สึกกระวนกระวายอยู่บ่อยครั้ง รู้สึกไม่มีสมาธิ

- รู้สึกหงุดหงิดง่ายเกินเหตุ

- รู้สึกหายใจลำบาก

- มีอาการตัวสั่น หนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก

- รู้สึกวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ

- รู้สึกชาบริเวณมือ และเท้า

- รู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย หรือท้องเสียบ่อย ๆ

- รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง


หากเกิดความรู้สึกเหล่านี้บ่อยครั้ งและกินระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน อีกทั้งยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นอกเหนือจากการทำงาน จ


นอาจทำให้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน คุณอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักบำบัดเพื่อรับคำแนะนำในการรักษา และบำบัดต่อไป


วิธีแก้รักษาโรควิตกกังวลในเบื้องต้น

การรักษาโรควิตกกังวลในวัยทำงานนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีในเบื้องต้นนั้น ผู้ป่วยควรจะต้องสังเกตสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ยิ่งถ้าหากความรู้สึกวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนั้นมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เริ่มกินระยะเวลายาวนาน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันนั้น ผู้ป่วยควรที่จะเข้ารับการปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักบำบัด เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงที่จะเป็นโรควิตกกังวล ไปจนถึงเพื่อประเมินแนวทางในการรักษาต่อไป นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วงลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรควิตกกังวล ได้แก่


- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเครียด เช่น การฝึกโยคะ การพักผ่อนให้เพียงพอ ควรลดปริมาณการดื่มกาแฟ หรือชาที่มีสารบางอย่างที่จะกระตุ้นการเคลื่อนไหวของระบบประสาท และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเครียด และออกซิเจนให้กับร่างกาย และช่วยให้ร่างกายหลั่งสารที่ช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรควิตกกังวล


- การเรียนรู้เทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การวางแผนการทำงานที่มีความสมดุล การใช้เทคนิคการจัดการเวลา การใช้เทคนิคการแก้ไขปัญหา การฝึกสมาธิก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมความวิตกกังวล ซึ่งจะช่วยลดการกระตุ้นของระบบประสาท และเพิ่มความสงบสุขให้กับจิตใจ โยคะเป็นการฝึกฝนจิตใจแ ละร่างกาย ซึ่งช่วยลดความวิตกกังวล และเพิ่มความสงบสุขให้กับผู้ป่วยได้


- รับประทานอาหารที่เหมาะสม และมีความสมดุล เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีวิตามิน และแร่ธาตุ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดความเครียดที่จะนำไปสู่โรควิตกกังวลได้เช่นกัน



- พูดคุย บอกเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน หรือบุคคลที่สามารถไว้ใจและเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟังได้ เพื่อเป็นการแชร์ความคิดเห็น รวมไปถึงเพื่อให้ได้รับความคิดเห็นที่อาจสนับสนุน หรือเป็นคำแนะนำสำหรับจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้


ในปัจจุบันการเข้าถึงการรักษาในด้านจิตเวช สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคลินิกจิตเวช หรือการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ก็สามารถทำได้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น และไม่สามารถจัดการได้จนเริ่มกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ไม่ควรที่จะปล่อยไว้ การแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ดีที่สุดนั้นก็คือการเข้ารับการปรึกษา และบำบัดอย่างถูกต้อง และถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง


THE OASIS คลินิกจิตเวช ยินดีให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิต โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ THE OASIS คลินิกจิตเวช เรามีนักจิตบำบัด และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ทั้งการบำบัดด้วยกีฬา ไม่ว่าจะเป็นคลาสโยคะที่ช่วยให้ร่างกายของคุณได้พักผ่อน หรือบำบัดด้วยศิลปะ เพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ การเข้าคลาสศิลปะที่ผ่อนคลาย และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ จิตบำบัดแบบกลุ่ม









ดู 9,316 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page