หาคำตอบ ทำไมผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึงอาการไม่ดีขึ้น พร้อมแชร์เทคนิคการเลือกหมอจิตเวช คลินิกจิตเวชผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
ปัจจุบันเรามักจะได้ยินจากข่าวสารบ้านเมืองในเรื่องของการคิดสั้น ทำร้ายตัวเอง หรือภาวะของการฆ่าตัวตายอันเนื่องจากสาเหตุของการเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะซึมเศร้าเข้าขั้นรุนแรง ทั้งนี้สาเหตุของการตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้านี้ มีหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมภายนอกไม่ดี พบเจอประสบการณ์ที่ไม่ดี อยู่สภาพสังคมที่มีความกดดันสูง เสพสื่อที่มีความรุนแรง หรือมีผลต่ออารมณ์ในแนวดิ่งเป็นระยะเวลานาน การถูกคุกคามทางเพศ การสูญเสียบุคคล หรือสิ่งของอันเป็นที่รักไป เป็นต้น แนวทางในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น ส่วนใหญ่คือการเข้าพบจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชตามโรงพยาบาล หรือคลินิกจิตเวช เพื่อปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดเพื่อทำการวางแผนรักษา โดยที่จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดอาจจะรักษาด้วยการให้รับประทานยา ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งสร้างเข้าใจกับครอบครัวของผู้ป่วย และต้องขอความร่วมมือกับครอบครัวผู้ป่วยให้ร่วมเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วย
จะเห็นได้ว่า การเป็นโรคซึมเศร้ามีหลายสาเหตุที่เกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันอย่างไม่อาจจะละเว้นได้ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายมีอาการไม่ดีขึ้นในระยะเวลาอันควร สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาการไม่ดีขึ้น อย่างโดยเบื้องต้นอาจมีสาเหตุดังนี้
1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่สามารถปรับพฤติกรรม
เนื่องจากปัจจัยหนึ่งในการเป็นโรคซึมเศร้าคือติดอยู่กับพฤติกรรมที่นำพาให้เราไปสู่ห่วงอารมณ์ และความรู้สึกของเราไปทางด้านลบ เช่น การเสพสื่อที่มีภาพรุนแรง การเสพสื่อที่ให้เรารู้สึกเศร้า รู้สึกผิดหวังกับชีวิต หรือการมีพฤติกรรมที่ยังยึดติดอยู่กับอดีต ความคุ้นเคยเก่า ๆ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้จะมีผลต่อจิตใต้สำนึกของเรา และจะยิ่งทำให้เราถอนตัวจากการเป็นโรคซึมเศร้าไม่ขึ้น เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาทางจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะแนะนำให้ผู้ป่วยลองค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตบางส่วน เช่น ออกไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปออกกำลังกาย หรือเสพสื่อที่ทำให้ผ่อนคลาย เป็นต้น ทั้งนี้จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะมีความเข้าใจดีว่าพฤติกรรมเป็นเรื่องของบุคคล ดังนั้น ในการให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงจะแนะนำ และเสนอแนะให้เหมาะสมกับพฤติกรรมพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละคน
2. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าขาดความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
ในการรักษาผู้ป่วยที่มีเป็นโรคซึมเศร้าให้หายขาดได้ คนรอบข้าง ครอบครัว นั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากที่ต้องมีความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยแล้ว ยังต้องมีส่วนช่วยในการรักษาทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นด้วย ด้วยการสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ บรรยากาศที่ดี ๆ เพื่อเยียวยารักษาสภาพอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ป่วยคงที่ และดีขึ้นด้วย และต้องมีส่วนร่วมในการควบคุมดูแลในการควบคุมพฤติกรรมไม่ให้ผู้ป่วยประพฤติในสิ่งที่ไม่ดีด้วย
3. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการป่วยทางกาย หรือจิตใจอื่นแทรกซ้อน
ในช่วงที่อยู่ระหว่างรับการรักษานั้น ผู้ป่วยอาจจะประสบพบเจอกับเรื่องที่ไม่คาดคิด ประสบการณ์ที่เลวร้ายเกิดขึ้นฉับพลัน หรือเกิดมีโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ ที่อุบัติขึ้นอย่างกะทันหัน สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และความรู้สึกของผู้ป่วยได้ และอาจจะทำให้โรคซึมเศร้าแสดงอาการที่หนักไปกว่าเดิม อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาเพิ่มขึ้น
4. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทานยาไม่ตรงตามที่แพทย์สั่งการรักษา
ในกรณีผู้ป่วยมีอาการหนัก และต้องรับประทานยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดแนะนำแล้ว การรับประทานยาตามโดสและ ตามเวลาที่กำหนดเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากยาบางตัวบางชนิดมีผลต่อการปรับสารเคมีในร่างกายบางส่วนของเราที่มาเป็นเวลาประจำในแต่ละวัน ซึ่งอาจจะต้องรับประทานในช่วงเวลาเดิมอย่างสม่ำเสมอ และปริมาณเหมาะสมด้วย ดังนั้น จึงต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด รวมถึงการห้ามรับประทานสิ่งที่ส่งผลไม่ดี หรือพฤติกรรมที่ไม่ดีอันส่งผลไปถึงการทำงานของยาด้วย เช่น แอลกอฮอล์ สารเสพติดต่าง ๆ เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากยาการพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์ตรง ๆ จะทำให้จิตแพทย์สามารถปรับยา และปริมาณได้อย่างเหมาะสม
5. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่มาพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาตามนัด
บ่อยครั้งเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาไปสักระยะหนึ่ง แล้วมีอาการที่ดีขึ้น และมีความเข้าใจไปเองว่าเขานั้นหายขาดแล้ว จึงไม่ได้มาพบจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดตามที่นัดที่นัดไว้ ซึ่งเป็นกรณีแบบนี้อาจจะทำให้อาการ หรือโรคซึมเศร้ากลับมาแสดงอาการอีกครั้งก็ได้ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่ยาวนานกว่าเดิม ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้ามาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดตามที่นัดหมายไว้จนกว่าจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคซึมเศร้าแล้วจริง ๆ
อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าให้หายขาดได้ นั่นคือการได้เข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดที่ดี มีคุณภาพ มีความเข้าใจผู้ป่วย และมีวิธีการรักษาผู้ป่วยในแนวทางบูรณาการ ให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น วันนี้ THE OASIS คลินิกจิตเวช จึงขอแนะนำคลินิกจิตเวชเล็ก ๆ ที่มีจิตแพทย์ หมอจิตเวช และนักบำบัด ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายวิชาชีพในด้านสุขภาพจิต
THE OASIS ก่อตั้งโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายวิชาชีพ ผู้ให้ความสำคัญกับแนวคิด ‘4 เสาหลักของสุขภาพ’ ที่นี่เปรียบเสมือนบ้านที่ช่วยดูแล 4 องค์ประกอบสำคัญของคนเรา ได้แก่ กาย ใจ ครอบครัว และจิตวิญญาณ ทีมงาน THE OASIS อยากสร้างพื้นที่ให้คนที่ต้องการที่พักใจเข้ามาใช้บริการด้วยความสบายใจ และไว้วางใจ เป็นจุดเติมพลังสำหรับใครที่กำลังเหนื่อยล้า เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการค้นพบตัวเอง พัฒนาตนเอง เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย มองเห็นคุณค่าในตนเอง และตระหนักถึงอิสระในการใช้ชีวิต แม้ทีมงานแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันในที่มา และทักษะความชำนาญ ทว่าสิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องตรงกันคือ เป้าหมายความสำเร็จของ THE OASIS คลินิกจิตเวช ไม่ได้อยู่ที่กำไร แต่อยู่ที่การทำประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในทางกาย ใจ ครอบครัว และจิตวิญญาณ
THE OASIS คลินิกจิตเวช เรามีนักจิตบำบัด และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ทั้งการบำบัดด้วยกีฬา ไม่ว่าจะเป็นคลาสโยคะที่ช่วยให้ร่างกายของคุณได้พักผ่อน หรือบำบัดด้วยศิลปะ เพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ การเข้าคลาสศิลปะที่ผ่อนคลาย และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด
The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช
โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ จิตบำบัดแบบกลุ่ม
Comments