top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

รูปภาพนักเขียนThe Oasis Team

บทบาทของสารสื่อประสาท เคมีในสมองกับโรคซึมเศร้า

อัปเดตเมื่อ 2 ต.ค. 2566



รู้จักสารเคมีในสมองที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคซึมเศร้าคืออะไร และมีส่งผลอย่างไรต่อการเป็นโรคซึมเศร้า

เชื่อว่าคนที่คลุกคลีกับคนที่รักษาโรคซึมเศร้า และอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าบ่อย ๆ น่าจะคุ้นเคยกับคำว่าสารเคมีในสมองกันแน่นอน เพราะอาการสารเคมีในสมองไม่สมดุล นับเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายโรคซึมเศร้าเนื่องจากเรื่องของสารเคมีในสมองนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และผู้ใกล้ชิด วันนี้ THE OASIS คลินิกจิตเวช เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสารเคมีสำคัญ ๆ ในสมองกันให้มากขึ้นว่าพวกมันคืออะไร ทำหน้าที่อะไร และเพราะอะไรมันถึงทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจกระบวนการทำงานของร่างกายที่นำพาไปสู่โรคนี้ และเรียนรู้ที่จะดูแลร่างกายของตัวเองให้ดีขึ้นอีกครั้ง ผ่านการรู้จักร่างกายตัวเองให้มากขึ้น


สารเคมีในสมองคืออะไร?

ถ้าหัวใจทำหน้าที่เป็นเหมือนปั๊มน้ำที่คอยสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย สมองก็เปรียบเสมือนกับห้องควบคุมที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการรับรู้ ความจำ อารมณ์ ความรู้สึก หรือจะเรียกว่าควบคุมการทำงานทุกอย่างในร่างกายเลยก็ว่าได้ ทว่าสมองของเราจะไม่สามารถทำงาน และควบคุมอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลย หากขาดสิ่งที่เรียกว่า ‘สารเคมีในสมอง’ หรือที่เราเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า ‘สารสื่อประสาท (Neurotransmitter)’ โดยสารเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นมาในบริเวณปลายประสาท และคอยทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง หรือคอยเป็นตัวเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเนื้อ เพราะฉะนั้นบทบาทของสารสื่อประสาทเลยเปรียบเสมือนกับวิศวกรตัวเล็ก ๆ ที่คอยเชื่อมนู่นควบคุมนี่ในร่างกายของเราตลอดเวลา และด้วยความที่สารเคมีเหล่านี้มีหน้าที่ในการช่วยสมองควบคุม เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นจึงส่งผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปกติในเรื่องการนอนหลับ รวมไปถึงสุขภาพอื่น ๆ ในร่างกายด้วย ซึ่งหนึ่งในโรคที่เรารู้จักกันดี ก็คือ โรคซึมเศร้านั่นเอง


สารเคมีในสมองมีบทบาทอย่างไรต่อการเป็นโรคซึมเศร้า?

อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่าสารเคมีในสองเปรียบเสมือนวิศวกรที่ควบคุมการทำงานในร่างกายของเรา จึงมีบทบาทสำคัญมาก ๆ ต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เพราะถ้าวิศวกรทำงานผิดพลาด ระบบในร่างกายของเราย่อมรวนตามไปด้วย และนั่นจึงส่งผลให้เรากลายเป็นโรคต่าง ๆ นั่นเอง โดยสารสื่อประสาทที่อาจส่งผลต่อร่างกายจนเกิดโรคซึมเศร้าจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. แอซิติลโคลิน (Acetylcholine): สารสื่อประสาทประเภทนี้ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายโดยอัตโนมัติ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจที่ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ การควบคุมเรื่องการนอนหลับ การหายใจ การย่อยอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ และอีกมากมาย รวมไปถึงเรื่องของความจำ กับสมาธิ ที่ส่งผลสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ด้วย ดังนั้นการทำงานของแอซิติลโคลีนที่ผิดปกติอาจส่งผลให้ความจำ และสมาธิถดถอยได้

  2. ซีโรโทนิน (Serotonin): สารสื่อประสาทตัวนี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมส่วนของอารมณ์ การรับรู้ และความรู้สึกต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความคิดของมนุษย์ รวมถึงความรู้สึกมีความสุขด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่สารตัวนี้ทำงานผิดปกติอาจจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า และวิตกกังวลได้

  3. นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine): สารสื่อประสาทตัวนี้ค่อนข้างมีหลายบทบาทหน้าที่ แต่ส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ นอร์เอพิเนฟรินมีความเกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การควบคุมอารมณ์ การตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวและการเรียนรู้ หากการทำงานของสารสื่อประสาทตัวนี้ผิดปกติย่อมส่งผลต่ออารมณ์ที่ผิดปกติเช่นกัน

  4. โดพามีน (Dopamine): สารสื่อประสาทตัวสุดท้ายก็คือ โดพามีน ที่เรามักได้ยินบ่อยว่าเวลาคนมีความรักโดพามีนมักจะหลั่งออกมา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องถูกต้อง เพราะสารสื่อประสาทตัวนี้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว และการสร้างความสุข ความพึงพอใจต่าง ๆ เมื่อมีการหลั่งสารตัวนี้ออกมาเราจึงรู้สึกสุขใจ กระปรี้กระเปร่า และมีความสุขกันมาก ๆ นั่นเอง แต่ถ้าปริมาณของสารโดพามีนต่ำลง เราก็จะกลับกลายเป็นคนอมทุกข์ ซึมเศร้า ขี้หงุดหงิด เฉยชา ไม่กระฉับกระเฉง และอาจจเป็นปัจจัยที่นำไปสู่อาการเศร้าได้เช่นกัน

เชื่อว่าหลังจากอ่านมาจบ ทุกคนน่าจะทราบกันแล้วว่าสารเคมีในสมองที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคซึมเศร้านั้นคืออะไร และมีบทบาทอย่างไรต่อการเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง อย่างไรก็ตามหากใครกำลังรู้สึกว่าตัวเองมีความเครียด เราขอแนะนำให้ปรึกษากับจิตแพทย์ เพื่อดูแลในเรื่องของการปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ทั้งเรื่องความวิตกกังวล การปรึกษาโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ จะได้รู้เท่าทันจิตใจของตัวเอง


THE OASIS คลินิกจิตเวชยินดีให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคแพนิค และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ดูแลครอบคลุมทั้งบริการทางจิตเวชทั่วไปในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เรามีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมองด้วยแบบสอบถาม จิตแพทย์ หมอจิตเวชผู้เชี่ยวชาญของเรา สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่านหรือคนที่ท่านรัก เรามีนักจิตบำบัด และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษา บำบัดด้วยกีฬา หรือศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นคลาสโยคะที่ช่วยให้ร่างกายของคุณได้พักผ่อน และเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ การเข้าคลาสศิลปะที่ผ่อนคลาย และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช และนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ








ดู 3,084 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page